ทำความรู้จักกับเรือพระที่นั่งในพันท้ายนรสิงห์

ทำความรู้จักกับเรือพระที่นั่งในพันท้ายนรสิงห์

เรือพระที่นั่งนั้นมีคำเรียกหลายอย่าง เช่น เรือต้น เรือพระที่นั่งทรง เรือพระที่นั่งรอง เรือพระที่นั่งกิ่ง เรือพระที่นั่งเอกไชย เรือพระที่นั่งศรี เรือพระที่นั่งกราบ เป็นต้น   โดยมีการดัดแปลงมาจากเรือแซ มีขนาดยาวตั้งแต่ 30 – 40 เมตร กว้าง 3 เมตรเศษ บรรจุฝีพายได้ 60 – 80 นาย โดยฝีผายจะนั่งอยู่เป็นคู่  เรือลำใดที่พระเจ้าแผ่นดินโปรด ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเรือพระที่นั่ง ได้รับการตกแต่งหรือสลักและเขียนลายให้สวยงาม

เรือพระที่นั่ง
เรือพระที่นั่ง

โดยกลางลำเรือจะมีการสร้างบัลลังก์กัญญาสำหรับเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ โดยมีนายเรือสองนาย ยืนอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของบัลลังก์กัญญาเพื่อทำหน้าที่ควบคุมความเรียบร้อยโดยรวมของเรือ

นายเรือ
นายเรือ

ต่อมาคือพลสัญญาณ จะนั่งอยู่ที่หัวเรือและถือหางนกยูงคอยดูสัญญาณจากนายเรือ แล้วจึงยกหางนกยูงให้สัญญาณคำสั่งไปยังฝีพาย

พลสัญญาณ
พลสัญญาณ

ส่วนฝีพายนั้นจะนั่งกันเป็นคู่อยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของบัลลังก์กัญญา คอยรับสัญญาณจากพลสัญญาณแล้วจึงพาย โดยการพายเรือพระที่นั่งนั้นจะพายในท่านกบิน มี 4 จังหวะคือ 1. พายลงไปในน้ำ 2 และ 3 ดึงพาย 4.ยกพายขึ้นมา

ฝีพาย
ฝีพาย

นายท้ายเรือ ทำหน้าที่คัดท้ายเรือ เป็นการช่วยฝีผายในการกำหนดทิศทางของเรือพระที่นั่ง เนื่องจากเรือพระที่นั่งนั้นจะมีขนาดใหญ่และยาว รวมถึงมีน้ำหนักมาก จึงยากแก่ฝีพายในการที่จะกำหนดทิศทางของเรือ นายท้ายจึงเป็นคนที่ทำหน้าที่สำคัญหน้าที่หนึ่งในเรือพระที่นั่ง โดยถ้าหากทำหน้าที่คัดท้ายได้ไม่ดีจนเรือพระที่นั่งได้รับความเสียหายก็จะต้องถูกลงโทษตามกฎมณเฑียรบาล ดังเช่นที่เกิดขึ้นในเรื่องพันท้ายนรสิงห์

นายท้ายเรือ
นายท้ายเรือ

เมื่อเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคนั้นจะมีเรือติดตามในขบวนอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งตามปกติกระบวนพยุหยาตรามักมี 5 กระบวนย่อย คือ กระบวนหน้าชั้นนอก กระบวนหน้าชั้นใน กระบวนเรือพระราชยาน กระบวนหลังชั้นใน และกระบวนหลังชั้นนอก

เรือติดตาม

ร่วมสัมผัสความงดงามของเรือพระที่นั่งรวมถึงประเพณี วิถีชีวิตของชาวไทยในอดีตที่ทางผู้สร้างพยายามนำกลับมาให้เราชมกันได้ในหนังแนวประวัติศาสตร์เรื่องนี้ “ดูหนังพันท้ายนรสิงห์”