เกล็ดน่ารู้เกี่ยวกับพันท้ายนรสิงห์

เกล็ดน่ารู้เกี่ยวกับพันท้ายนรสิงห์

ก่อนที่จะพันท้ายนรสิงห์จะกลายมาเป็นหนังที่กำลังจะเข้าฉายปลายเดือนนี้แล้วนั้น หลายคนคงยังไม่รู้ว่าเดิมทีนั้นผู้สร้างตั้งใจให้พันท้ายนรสิงห์เป็นหนังโทรทัศน์ และวางแผนจะออกฉายเป็นละครโทรทัศน์ที่ไทยทีวีสีช่อง 3 แต่เกิดเหตุขัดข้องบางประการทำให้ทางผู้สร้าง คือ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือท่านมุ้ย ตัดสินใจที่จะซื้อสิทธิ์ของพันท้ายนรสิงห์คืน และทำการตัดต่อใหม่เพื่อเข้าฉายเป็นหนังแทน

เพราะด้วยการถ่ายทำที่ใช้กล้องคุณภาพสูงเหมือนการถ่ายทำหนังอยู่แล้วนั้น ทางผู้สร้างจึงไม่กังวลเรื่องของคุณภาพของภาพ ในส่วนของการตัดต่อใหม่จากความยาวของละครสู่หนังนั้น ท่านมุ้ยกล่าวว่าเนื้อเรื่องจะกระชับขึ้นและคนดูจะไม่สับสนอย่างแน่นอน

 

เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในพระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเสียม กรุงลอนดอน โดยเป็นฉบับที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยรัชกาลที่ 2 เมื่อครั้งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายรัชกาลที่ 1 ในปีเถาะ จุลศักราช 2269 (พ.ศ.2350) ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้ชำระ จากเนื้อความน่าจะชำระเพิ่มเติมจากพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม)ที่ชำระก่อนหน้าใน จุลศักราช 1147 (พ.ศ.2338)

พงศาวดาร

โดยได้บันทึกเรื่องราวการเสด็จประพาสของพระเจ้าแผ่นดินด้วยเรือพระที่นั่งเอกชัย เพื่อไปทรงเบ็ด ที่ปากน้ำ เมืองสาคร เมื่อผ่านทางคลองที่ตำบลโคกขาม ซึ่งเป็นคลองที่คดเคี้ยวมาก ยากแก่การคัดท้ายเรือพระที่นั่ง จนศีรษะของเรือพระที่นั่งชนเข้ากับกิ่งไม้อันใหญ่จนแตกหักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์ตกใจมากและเห็นว่าตนเองทำผิดพลาดจึงขอให้พระเจ้าแผ่นดินทรงลงโทษด้วยการประหารชีวิตตนเองตามกฎมณเฑียรบาล

แต่พระเจ้าแผ่นดินรับสั่งว่ามิได้เป็นความผิดของพันท้ายนรสิงห์จึงไม่สั่งลงโทษ แต่พันท้ายนรสิงห์เฝ้าอ้อนวอนให้ลงโทษตามกฎ แม้พระเจ้าแผ่นดินจะทรงใช้ให้ฝีผายคนอื่น ๆ นำดินมาปั้นเป็นหุ่นแทนตัวพันท้ายนรสิงห์และสั่งให้เพชฌฆาตตัดคอหุ่นนั้นแล้ว แต่พันท้ายนรสิงห์ก็ยังแข็งขืนและยืนยันให้ลงโทษประหารชีวิตตนเองเพื่อคงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎมณเฑียรบาล

ประหารชีวิต

ต่อมามีตำนานเล่าว่า หลังจากประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์แล้วก็ได้มีการตั้งศาลเทพารักษ์ขึ้น ได้มีการนำศีรษะของพันท้ายนรสิงห์และศีรษะของเรือพระที่นั่งที่แตกหักมาบูชาไว้ที่ศาลนี้ และพระเจ้าแผ่นดินทรงเห็นว่าคลองที่ตำบลนั้นมีความคดเคี้ยว ยากแก่การเดินเรือมากเกินไป จึงรับสั่งให้ขุดลัดคลองนั้นเสียให้สะดวกต่อการเดินเรือมากยิ่งขึ้น ซึ่งคลองที่อยู่ในตำนานก็คือ คลองมหาชัย นั่นเองสิงห์เฝ้าอ้อนวอนให้ลงโทษตามกฎ แม้พระเจ้าแผ่นดินจะทรงใช้ให้งโทษนเองทำผิดพลาดจึงขอให้พระเจ้าแผ่นดินทรงลงโทษด้วยการประ