ขรัวโต ภาพยนตร์ทรงคุณค่าที่คนไทยต้องดู

ขรัวโต ภาพยนตร์ทรงคุณค่าที่คนไทยต้องดู

ขรัวโต อมตะเถระกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นภาพยนต์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยสาระ พร้อมกับทำให้ผู้ชมได้ทราบถึงประวัติของ ” สมเด็จโต ” รวมไปถึงวัฒนธรรม และงานศึลปะของไทยในช่วงเวลานั้น โดยมีนักแสดงมากความสามารถมากมายทั้ง เศรษฐา ศิระฉายา (ศิลปินแห่งชาติ) ,ปรัชญา ประทุมเดช,บารมี ชำนาญกิจ, กวีวัฒน์ คานน์, พลอย ไพลิน, วิภาวี เวชวงศ์วาน, กาญจณี ดอกไม้ขาว,ธนายง ว่องตระกูล เจษฎาพร ชมศรี, รัฐธีร์ วรโรจน์โยธิน, ปกรณ์ เจตน์วิทยาชาญ, คณาธิป เปียงใจ, จิระศักดิ์  แสงโชติ, รุจิเรข พักตระเกษตริน, อดิเทพ อนันต์, ชุมพร เทพพิทักษ์, สมพงษ์ ตรีบุปผา,จรัญ เมืองลพ, โกวิท วัฒนกุล, โสธร รุ่งเรือง, มนชัย ภราดรบัญชา, การะเกตุ แสงไกร, นิรันดร์  โกไศยกานนท์, เอก อัครเมธา, ว่าที่ ร.ต. ธนากร พันกาแด และก่อนที่จะเตรียมรับชมหนังเรื่องนี้เราไปศึกษาประวัติของ สมเด็จโต กันก่อน


” สมเด็จโต “, ” หลวงปู่โต ” หรือ ” ขรัวโต ” หรือนามเต็มว่า ” สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ” เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนับถือบูชาอย่างมากในประเทศไทยเรา ซึ่งในอดีตเป็น เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร และเป็นพระเกจิเถราจารย์ท่านนี้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส ซึ่งท่านได้รับความเคารพนับถือตั้งแต่พระมหากษัตริย์  จนถึงสามัญชน และยังมีชื่อเสียงในด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม ทำให้ชาวไทยให้การเคารพนับถือท่านเป็นอย่างมาก

 

หลวงปู่โต เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331   ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2343 ได้บรรพชาเป็นสามเณร และในปี พ.ศ. 2350

ขรัวโต

สามเณรโต ได้รับความเมตตาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระองค์ท่านได้กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) โดยมี มเด็จพระสังฆราช (ศุข )เป็นพระอุปัชฌาย์ พร้อมได้รับฉายาทางธรรมว่า ” พฺรหฺมรํสี ”

ตัวอย่างหนัง ขรัวโต

โดยต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้พระภิกษุโตรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาสมณศักดิ์เพื่อยกย่องในกิตติคุณและเกียรติคุณของพระภิกษุโต แต่ท่านไม่ยอมรับ เพราะท่านไม่ปรารถนายศศักดิ์ หรือลาภสักการะใดๆ

หลวงปู่โต

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สังฆการีออกตามหาพระภิกษุโต หลังจากท่านได้ออกธุดงค์ ก่อนที่จะนำตัวท่านกลับมาในปี พ.ศ. 2395 ก่อนจะได้ พระราชทานสมณศักดิ์ถวายพระภิกษุโตเป็นครั้งแรก พร้อมกับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ราชทินนาม ” พระธรรมกิติ ” และได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งในเวลานั้นท่านมีอายุ 65 ปี และหลังจากนั้นในปี พ.ศ.  2397 ท่านก็ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ในราชทินนาม ” พระเทพกวี ”  และปี พ.ศ. 2407 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาสมณศักดิ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ชั้น” สมเด็จพระพุฒาจารย์ ” นับเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดจนกระทั่งสิ้นชีพิตักษัยที่วัดอินทรวิหาร ณ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายนพ.ศ. 2415 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ 84 ปี อยู่ในสมณเพศ 64 พรรษา